กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร l Internal Security Operations Command :: ISOC
ประวัติความเป็นมา

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๕๑ มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นองค์กรหลักในการบูรณาการ อำนวยการ และกำกับดูแลการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือความมั่นคงของรัฐ พร้อมทั้งดำเนินการเสริมสร้างให้ประชาชนตระหนักในหน้าที่ที่จะเทิดทูน พิทักษ์และรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ และสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้วยการน้อมนำแนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”เป็นหลักในการดำเนินงาน

ประวัติความเป็นมาของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยสรุปมีดังนี้

  • รัฐบาลมีนโยบายให้แปรสภาพกองอำนวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ (กอ.ปค.) เป็น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน) แต่ยังคงให้มีอำนาจตาม พ.ร.บ. ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และยังคงมีความรับผิดชอบในภารกิจป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ต่อไปโดยมีการทบทวนวิเคราะห์เพื่อพัฒนานโยบาย ตลอดจนยุทธศาสตร์และยุทธวิธี เพื่อให้สามารถยุติสถานการณ์ก่อการร้ายให้สำเร็จลงโดยเร็ว
  • ได้มีการปรับปรุงและพัฒนา และประกาศนโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ เมื่อ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๓ (นโยบาย ๖๖/๒๓) ยึดถือปรัชญา “สันติภาพเป็นรากฐานของความมั่นคง และความมั่นคงอันถาวรเป็นบ่อเกิดแห่งความมั่นคงสมบูรณ์พูนสุขของอาณาประชาราษฎร์ในราชอาณาจักร”
  • ภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์มีน้อยลงและมีการปรับปรุงโครงสร้างฯ คณะรัฐมนตรีได้ปรับบทบาทของ กอ.รมน. ให้ปฏิบัติภารกิจทางด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดการจัดระเบียบและเสริมความมั่นคงชายแดน การพัฒนาเพื่อความมั่นคงเฉพาะพื้นที่ การแก้ปัญหาชนกลุ่มน้อยและผู้หลบหนีเข้าเมือง การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี (หน่วยสันตินิมิต) การปฏิบัติงานด้านการข่าวและปฏิบัติการจิตวิทยา (ปจว.)
  • (๑ เมษายน) มีมติ ครม.ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ (ตรงกับสมัย นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี) พ.ศ.๒๕๔๔ คณะรัฐมนตรีปรับลดบทบาทของ กอ.รมน. ลง โดยเฉพาะการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพิ่มบทบาทด้านการประสานงานมีการปรับโครงสร้าง กอ.รมน. จากเดิมโดยแต่งตั้งให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น รอง ผอ.รมน.โดยตำแหน่ง ต่อมาแต่งตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทย และ รอง ผอ.รมน.ฝ่ายการเมือง โดยให้มีตำแหน่งผู้ช่วย ผอ.รมน. ๕ ตำแหน่ง คือ ผบ.ทบ., ผบ.ทร., ผบ.ทอ., ผบ.ตร. และอธิบดีกรมการปกครอง
  • คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๘/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๕ เรื่อง การจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
  • ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๒๐๕/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ เรื่องการจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน โดยให้ยกเลิก คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ๑๕๘/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๕ โดยให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เป็นหน่วยงานในสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมี ผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.รมน.) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบบังคับบัญชาข้าราชการ และการดำเนินงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในและหน่วยงานในสายงาน
  • ภายหลังจากที่มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นผลให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นส่วนราชการที่มีรูปแบบเฉพาะ ขึ้นในสำนักนายกรัฐมนตรี ภายใต้การบังคับบัญชาโดยขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มีรัฐมนตรีและหัวหน้าส่วนราชการด้านความมั่นคงเป็นคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และเพื่อรองรับตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๑
  • คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๑๗๙/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เรื่อง การจัดโครงสร้างการแบ่งส่วนงาน อำนาจหน้าที่ของส่วนงาน และอัตรากำลังของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรโดยมีโครงสร้างการจัดประกอบด้วย ส่วนบังคับบัญชา สำนักฝ่ายอำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติ และหน่วยปฏิบัติระดับภูมิภาคมีอัตราเจ้าหน้าที่ พลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ปฏิบัติงานในโครงสร้างดังกล่าว ทั้งที่เป็นอัตราประจำและช่วยราชการ
  • รัฐบาลได้ประกาศให้วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เป็นวันสถาปนากองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญและเกิดความภาคภูมิใจในเกียรติประวัติความเป็นมา ตลอดจนผลการปฏิบัติภารกิจด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเทและเสียสละในอดีตที่ผ่านมา รวมทั้งเพื่อเป็นการรวมจิตใจของข้าราชการภายในหน่วยงานให้มีความรักความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการปฏิบัติงานและให้วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
  • ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๑/๒๕๖๐ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
    • แก้ไขคำนิยาม ตามมาตรา ๓ “การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร” ให้รวมถึง ในกรณีที่เกิดหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    • เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ ตามมาตรา ๗ ในการติดตามและประเมินสถานการณ์ภายนอก ที่อาจก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความมั่นคงภายใน
    • แก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๑๐ โดยเพิ่มเติมให้อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นกรรมการ เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขนิยาม ตามมาตรา ๓
    • กำหนดให้มีคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค และจังหวัด โดยแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๓
สัญลักษณ์ กอ.รมน.

ภายในกรอบสามเหลี่ยม พื้นเป็นเครื่องหมายของธงชาติไทย

ตราภายในประกอบด้วยเครื่องหมายอันแสดงถึงการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันระหว่าง พลเรือน ตำรวจ ทหาร

 

ครุฑ หมายถึง พลเรือน ซึ่งรวมทั้ง ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน

โล่ หมายถึง ตำรวจ ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์

วงจักร หมายถึง ทหารบก

สมอ หมายถึง ทหารเรือ

ปีก หมายถึง ทหารอากาศ

สีพื้นภายในวงกลม

 

สีเหลือง หมายถึง พลเรือน

สีเลือดหมู หมายถึง ตำรวจ

สีแดง หมายถึง ทหารทั้งสามเหล่าทัพ

พุทธภาษิต “อสาธุํ สาธุนา ชิเน” หมายถึง คำเตือนให้ยึดมั่นปฏิบัติทางธรรมว่า “พึงชนะความชั่วด้วยความดี”

กฎหมาย/ระเบียบ/คำสั่ง/นโยบาย
    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ กอ.รมน.
  • พระราชบัญญัติ การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551
    กฏบัตรที่เกี่ยวข้องกับ กอ.รมน.
  • หนังสือ สตน.กอ.รมน. ที่ นร 5109-283 ลง 8 ต.ค. 63
  • กฎบัตรการตรวจสอบภายใน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ปีงบประมาณ 2564
  • กฎบัตรการตรวจสอบภายใน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ปีงบประมาณ 2563
  • กฏบัตรการตรวจสอบภายใน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ปีงบประมาณ 2562
    คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับ กอ.รมน.
  • คําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ 179/2552 เรื่อง การจัดโครงสร้าง การแบ่งส่วนงาน อํานาจหน้าที่ของส่วนงาน และอัตรากําลังของกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
  • คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 51/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
  • คำสั่ง กอ.รมน. ที่ 279/2554 เรื่อง การดำเนินการรับรองหลักฐานการมีสิทธิได้นับเวลาทวีคูณสำหรับกำลังพลสังกัด กอ.รมน. และผู้ปฏิบัติงานในสายงาน กอ.รมน.
    ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ กอ.รมน.
  • คำสั่ง กอ.รมน. ที่ 592/2561 เรื่อง แบบธรรมเนียมการปฏิบัติตนของข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ กอ.รมน.
    นโยบายที่เกี่ยวข้องกับ กอ.รมน.
  • ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580)
  • ยุทธศาสตร์ กอ.รมน. (พ.ศ. 2560 – 2564)
  • “คำขวัญ” ค่านิยมของ กอ.รมน.
    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ
  • ข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551
  • ประกาศ เรื่อง กําหนดลักษณะความผิดอันมีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551
  • ประกาศ เรื่อง การให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 เป็นเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย
  • ประกาศ เรื่อง พื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
    ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ
  • ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560
    นโยบายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ
  • นโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561
    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
    ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ.2560
    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง
  • พระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
  • กฎกระทรวง กำหนดเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานของรัฐที่ใช้สิทธิอุทธรณ์ไม่ได้ พ.ศ.2560
  • กฎกระทรวง กำหนดอัตราค่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง พ.ศ.2560
  • กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษา พ.ศ.2560
  • กฎกระทรวง กำหนดวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง วงเงินการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือ และวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างในการแต่งตั้งผู้ตรวจรับพัสดุ พ.ศ.2560
  • กฎกระทรวง กำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนและกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ.2560
  • กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับผู้ที่มีสิทธิขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ พ.ศ. 2560
  • กฎกระทรวงกำหนดให้หน่วยงานอื่นเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
  • กฎกระทรวง กําหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ.2561
    ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง
  • ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
  • ข้อบังคับ กอ.รมน. ว่าด้วย การดำเนินการด้านพัสดุ พ.ศ.2562
  • ข้อบังคับ กอ.รมน. ว่าด้วย การดำเนินการด้านพัสดุ พ.ศ.2561
  • ข้อบังคับ กอ.รมน. ว่าด้วย การดำเนินการด้านพัสดุ พ.ศ.2553
    คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง
  • คำสัง กอ.รมน. ที่ 477/2560 เรื่อง การดำเนินการด้านพัสดุ (ชั่วคราว)
ยุทธศาสตร์ กอ.รมน.



Download : ยุทธศาสตร์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2560 - 2564

Social Network
QRCODE Facebook QRCODE Youtube
Top